โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัยสู่สังคม

โครงการบริการวิชาการฯ กิจกรรมย่อยที่ 6 “การพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านท่า-บ่อโก เพื่อการขายสินค้าและบริการออนไลน์”

          เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 หลักสูตรวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ นำโดย อาจารย์ ดร.เสาวคนธ์ ชูบัว หัวหน้าโครงการจัดกิจกรรมบริการวิชาการร่วมกับ หลักสูตรวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ให้กับชุมชนรอบ มหาวิทยาลัย 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบางคู ชุมชนอ่าวเตล็ด ชุมชนเขาออก ชุมชนแขวงเภา ชุมชนท้องเนียน และชุมชนบ้านท่า-บ่อโก โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จาก สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ร่วมเสวนาด้วย จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ไมตรี  พุทธวงษ์ คุณพจนีย์ แก้วมีศรี และคุณนลพรรณ ชลาสิทธุ์ ในกิจกรรมมีการส่งมอบแผนผังเส้นทางศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนบ้านท่า-บ่อโก เพื่อให้ชุมชนได้นำไปใช้ประโยชน์ ต่อจากนั้น คณะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่ชุมชนต่อในภาคบ่าย และในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ได้ลงพื้นที่และทดลองท่องเที่ยวในคลองบางคู ของชุมชนบางคู 

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมย่อยที่ 6 โครงการจัดการระบบนิเวศและเส้นทางเดินศึกษาป่าสาคู

                คณะทำงานบริการวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ นำโดย อาจารย์น้ำฝน จันทร์นวล อาจารย์อัญชิษฐา กิ้มภู่ อาจารย์จุฑามาศ พรหมมา อาจารย์นาถนลิน สีเขียว และอาจารย์กฤตชญา เทพสุริวงค์ หลักสูตรวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ร่วมด้วยอาจารย์ประสาร จิตร์เพ็ชร หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา และ อาจารย์ ดร.เสาวคนธ์  ชูบัว หลักสูตรวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ร่วมลงพื้นที่ “ชุมชนกะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช” ในโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมย่อยที่ 6 โครงการจัดการระบบนิเวศและเส้นทางเดินศึกษาป่าสาคู  คณะทำงานลงพื้นที่ 2 ครั้ง ในครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2561 เพื่อเก็บข้อมูลด้านเส้นทาง พร้อมศึกษาศักยภาพศูนย์เรียนรู้ในชุมชน และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2561 เพื่อส่งมอบเส้นทางเรียนรู้ระบบนิเวศป่าสาคู และปรึกษาหารือกับแกนนำชุมชนในการเชื่อมโยงฐานเรียนรู้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน     

7 พ.ค 61 (ช่วงเช้า เวลา 9.00 - 11.30 น.)ลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 (ช่วงเช้า เวลา 9.00 - 11.30 น.)

นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน (ผู้ช่วยอธิการบดี) ในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก และอาจารย์กลอยใจ ครุฑจ้อน พร้อมด้วยผู้ประสานงานโครงการ นายเอกชัย ซ้ายศรี นางสาวศิริกุล บุญเลิศ และคณะผู้ติดตามจากหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม จำนวน 4 ท่าน (ในนามตัวแทน มทร.ศรีวิชัย) ร่วมลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
1. ผศ.ดร.วิศิษฐ์ ลิ่มสมบุญชัย (ผู้รับผิดชอบโครงการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน) 
2. อาจารย์สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว
3. นางสาวพรรณิศา สัตยารัฐ
ณ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสบู่สมุนไพรบ้านทะเลนอก ที่ตั้งเลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (ผู้ประกอบการนางสาวลัดดา อาจหาญ) ซึ่งมีที่ปรึกษากลุ่ม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 2 ท่าน คือ ผู้ศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก คณะอุตสาหกรรมเกษตร และอาจารย์กลอยใจ ครุตจ้อน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

7 พ.ค 61 (เวลา 12.30- 14.00 น.) ลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 (เวลา 12.30- 14.00 น.) นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วรพงค์ บุญช่วยแทน (ผู้ช่วยอธิการบดี)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก และอาจารย์กลอยใจ ครุฑจ้อน พร้อมด้วยผู้ประสานงานโครงการ และคณะผู้ติดตามจากหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม จำนวน 4 ท่าน ร่วมลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านเหนือ ที่ตั้งเลขที่ 11/2 หมู่ที่ 2 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ผู้ประกอบการคือ นางไรนะ สาลี มีที่ปรึกษาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก คณะอุตสาหกรรมเกษตร และอาจารย์กลอยใจ ครุฑจ้อน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

7 พ.ค 61 ลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 (ช่วงบ่าย เวลา 15.30 - 17.30 น.)

นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน (ผู้ช่วยอธิการบดี) ในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก และอาจารย์กลอยใจ ครุฑจ้อน พร้อมด้วยผู้ประสานงานโครงการ นายเอกชัย ซ้ายศรี นางสาวศิริกุล บุญเลิศ และคณะผู้ติดตามจากหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม จำนวน 4 ท่าน (ในนามตัวแทน มทร.ศรีวิชัย) ร่วมลงพื้นที่กับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินผลการดำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
1. ผศ.ดร.วิศิษฐ์ ลิ่มสมบุญชัย (ผู้รับผิดชอบโครงการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน) 
2. อาจารย์สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว
3. นางสาวพรรณิศา สัตยารัฐ
ณ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสบู่สมุนไพรบ้านทะเลนอก ที่ตั้งเลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ซอยดาวเรือง ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (ผู้ประกอบการนางกาญจนา ดาวเรือง) ซึ่งมีที่ปรึกษากลุ่ม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 2 ท่าน คือ ผู้ศาสตราจารย์ชไมพร เพ็งมาก คณะอุตสาหกรรมเกษตร และอาจารย์กลอยใจ ครุตจ้อน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8 พ.ค 61 ช่วงเช้า เข้าร่วมโครงการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2561

นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน (ผู้ช่วยอธิการบดี) ในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายเอกชัย ซ้ายศรี (เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี) และเจ้าหน้าที่จากหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม จำนวน 4 ท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.ศรีวิชัย จำนวน 5 ท่าน เข้าร่วมโครงการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย และศึกษาดูงาน ณ คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และพื้นที่ชุมชนเครือข่าย จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ในระหว่างวันที่ 8 - 11 พฤษภาคม 2561

ช่วงเช้า
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “แนวทางการดำเนินโครงการการให้คำปรึกษา และข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผู้ดำเนินการเสวนา โดย ผศ.ปวารณา อัจฉริยบุตร (รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต) และนำเสนอผลการดำเนินงาน ของคลินิกเทคโนโลยี มรภ.ภูเก็ต โดย นายพหล รงค์กุล
- ประเด็นการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน การเบิกจ่ายต่างๆ
- ประเด็นการบริการให้คำปรึกษาต่อชุมชน
- ประเด็นการรับงบประมาณจากแหล่งทุนต่างๆ ที่สนับสนุนให้กับคลินิเทคโนโลยี
- ประเด็นการบริหารจัดการ งานด้านหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ประเด็นการบริหารจัดการ งานด้านคูปองวิทย์เพื่อOTOP

8-05-2561 ช่วงบ่าย เข้าร่วมโครงการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน

 

วันที่ 8 พฤษภาคม 2561

นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน (ผู้ช่วยอธิการบดี) ในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายเอกชัย ซ้ายศรี (เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี) และเจ้าหน้าที่จากหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม จำนวน 4 ท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.ศรีวิชัย จำนวน 5 ท่าน เข้าร่วมโครงการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย และศึกษาดูงาน ณ คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และพื้นที่ชุมชนเครือข่าย จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ในระหว่างวันที่ 8 - 11 พฤษภาคม 2561
ช่วงบ่าย
ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ (วิถีแห่งอินทรีย์) หมู่ ๖ ตำบลฉลอง บ้านฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบริหารจัดการชุมชน กับนายเกษม หวังจิตร (ประธานผู้นำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ) 
- เยี่ยมชมฐานการปลูกผักอินทรีย์ (PGS) ประกอบด้วย การปลูกผักกรูด/ การปลูกผักเหมียง/ การปลูกข่า/ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมย่อยที่ 6 โครงการจัดการระบบนิเวศและเส้นทางเดินศึกษาป่าสาคู

          คณะทำงานบริการวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ นำโดย อาจารย์น้ำฝน จันทร์นวล อาจารย์อัญชิษฐา กิ้มภู่ อาจารย์จุฑามาศ พรหมมา อาจารย์นาถนลิน สีเขียว และอาจารย์กฤตชญา เทพสุริวงค์ หลักสูตรวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ร่วมด้วยอาจารย์ประสาร จิตร์เพ็ชร หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา และ อาจารย์ ดร.เสาวคนธ์  ชูบัว หลักสูตรวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ร่วมลงพื้นที่ “ชุมชนกะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช” ในโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมย่อยที่ 6 โครงการจัดการระบบนิเวศและเส้นทางเดินศึกษาป่าสาคู  คณะทำงานลงพื้นที่ 2 ครั้ง ในครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2561 เพื่อเก็บข้อมูลด้านเส้นทาง พร้อมศึกษาศักยภาพศูนย์เรียนรู้ในชุมชน และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2561 เพื่อส่งมอบเส้นทางเรียนรู้ระบบนิเวศป่าสาคู และปรึกษาหารือกับแกนนำชุมชนในการเชื่อมโยงฐานเรียนรู้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน     

14 ก.พ 61 หน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก ภายใต้การดำเนินการจัดทำแผนงานพัฒนาโครงการต่างๆ

14 กุมภาพันธ์ 2561 
Historic Center ต้อนรับ 
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา 
ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา นายบัวยันต์ สุวรรณมณี
ผู้แทน ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม คุณรังษี รัตนปราการ และ คุณชนินทร์ สาครินทร์
ผู้แทนเทศบาลนครสงขลา นายพิษณุ เจริญเนตรกุล ผู้อำนวยการควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง และคุณชายแดน สเถียร สถาปนิกเทศบาลนครสงขลา 
ผู้แทนบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด คุณนารี บุญสงค์ 
พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย 
นำโดย
ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทน อธิการบดี 
ผศ.สุเทพ ชูกลิ่น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร 
ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา 
ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ 
ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี 
ผศ.เสนอ สะอาด ผู้ช่วยอธิการบดี 
พร้อมด้วยอาจารย์และหน่วยงานมหาวิทยาลัย อาทิ หน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก ภายใต้การดำเนินการจัดทำแผนงานพัฒนาโครงการต่างๆ พร้อมกันนี้ได้เดินเยี่ยมชม ให้กำลังใจชาวบ้านและผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณถนนหนองจิกและถนนยะหริ่ง

14 ก.พ 61 หน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก ภายใต้การดำเนินการจัดทำแผนงานพัฒนาโครงการต่างๆ

14 กุมภาพันธ์ 2561 
Historic Center ต้อนรับ 
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา 
ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา นายบัวยันต์ สุวรรณมณี
ผู้แทน ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม คุณรังษี รัตนปราการ และ คุณชนินทร์ สาครินทร์
ผู้แทนเทศบาลนครสงขลา นายพิษณุ เจริญเนตรกุล ผู้อำนวยการควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง และคุณชายแดน สเถียร สถาปนิกเทศบาลนครสงขลา 
ผู้แทนบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด คุณนารี บุญสงค์ 
พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย 
นำโดย
ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทน อธิการบดี 
ผศ.สุเทพ ชูกลิ่น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร 
ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา 
ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ 
ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี 
ผศ.เสนอ สะอาด ผู้ช่วยอธิการบดี 
พร้อมด้วยอาจารย์และหน่วยงานมหาวิทยาลัย อาทิ หน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก ภายใต้การดำเนินการจัดทำแผนงานพัฒนาโครงการต่างๆ พร้อมกันนี้ได้เดินเยี่ยมชม ให้กำลังใจชาวบ้านและผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณถนนหนองจิกและถนนยะหริ่ง

19 ก.พ 61 ดร. จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วย หน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ร่วมกับ ทีม บริษัท ปตท.สผ. ลงสำรวจพื้นที่และร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561

ดร. จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วย น.ส.ตุลยดา อุดมศิลป์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นายสุขรัฐจิต มงคลศิริเจริญ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นตัวแทนหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ร่วมกับ ทีม บริษัท ปตท.สผ. ลงสำรวจพื้นที่และร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
1 ธนาคารสัตว์น้ำชุมชนกลุ่มสหกรณ์บาลาเซาะห์เก้าแสน อ.เมือง จ.สงขลา โดย นายสมพล ดีเยาะ ประธานชุมชนกลุ่มสหกรณ์บาลาเซาะห์เก้าแสน ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล และจะฟื้นฟูชุมชนเก้าแสนให้กลับมาเหมือนอดีต จนตั้งเป็นกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคืนสู่ธรรมชาติ 
2. ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดย นางกระสวย มานิล (ป้าต้อย) ซึ้งเล็งเห็นความสำคัญ ถึงทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต และเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ เรื่องการเพาะฟักลูกปู 
3. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลและชายฝั่ง อ.สทิงพระ โดย นายอับดุลเลาะห์ จันทร์ลิมัด ซึ้งได้รับแรงบันดาลใจในการทำงานมาจากกลุ่ม ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา
4. กลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่ อ.สิงหนคร โดย นายธนดล บิลเหล็บ ประธานชุมชนบ้านใหม่ ซึ้งเล็งเห็นความสำคัญ ในอนาคตให้ชุมชนเป็นศูนย์การเรียนเรียนรู้ และให้คนท้องถิ่นรุ่นใหม่ได้อนุรักษ์ความเป็นธรรมชาติ ความเป็นทะเลสาปสงขลาต่อไป