โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดร  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม หรือศูนย์ AIC และการประชุมทำความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ AIC กับ นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยนายพัชโรภาส เหลืองวิไล ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศณ ห้องประชุมปรินซ์ 3 โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีการลงนาม มุ่งให้ศูนย์ AIC เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการเกษตร และเป็นแหล่งบ่มเพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเกษตรแปรรูป และการตลาด รวมทั้ง มีแผนการเปิดห้องเรียนออนไลน์ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทุกพื้นที่ ร่วมบูรณาการการทำงานกับ 4 พันธมิตรหลัก ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร และภาควิชาการ ในการจัดตั้งศูนย์ AIC ภายในมหาวิทยาลัยตามแต่ละจังหวัด ในรูปแบบโครงสร้าง 1 จังหวัด 1 ศูนย์ จำนวน 77 ศูนย์ อาทิ ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.บูรพา ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ม.เทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี ม.นเรศวร ม.ราชภัฏเพชรบุรี ม.ราชภัฎร้อยเอ็ด ม.ราชภัฏอุดรธานี ม.วลัยลักษณ์ และ ม.หอการค้าไทย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นต้น และจะนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์เครือข่าย AIC ภายในจังหวัดต่อไป ซึ่งประกอบด้วย 1) ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร และ 2) ศูนย์วิจัย ทดลอง ทดสอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรอีกด้วย
การจัดตั้งศูนย์ AIC มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตร อีกทั้งยังเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกร สนับสนุน Smart Farmer รวมถึง Young Smart Farmer ในแต่ละจังหวัด และผลักดันงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม แนวทางการขับเคลื่อนของศูนย์ AIC มุ่งเน้นการส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมช่างเกษตร ปราชญ์เกษตร ที่เป็นเกษตรกรต้นแบบใช้เทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดึงกลุ่ม Young Smart Farmer เข้าร่วมเสริมสร้างองค์ความรู้ทั้งด้าน e-commerce การสร้าง Story และ Packaging ให้แก่สินค้าเกษตร รวมถึงมาตรการ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรไทยมีองค์ความรู้และมีเครือข่ายที่ดี เพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคเกษตร 4.0 อย่างยั่งยืน