โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัย สงขลา เปิดโครงการเสวนา ทิศทางการจัดการวัสดุเหลือทิ้งแบบมีส่วนร่วม ที่ยั่งยืน สู่ชุมชนต้นแบบจังหวัดสงขลา ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

มทร.ศรีวิชัย สงขลา เปิดโครงการเสวนา ทิศทางการจัดการวัสดุเหลือทิ้งแบบมีส่วนร่วม ที่ยั่งยืน สู่ชุมชนต้นแบบจังหวัดสงขลา ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 10 กรกฎษคม 2563 ที่ ห้องประชุมศรีวิศว อาคารศรีวิศววิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายประสงค์ บริรักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทชัย ชูศิลป์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย ร่วมเปิดกิจกรรมและการเสวนา ทิศทางการจัดการวัสดุเหลือทิ้งแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา โดยมี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะผู้บริหารเทศบาลนครสงขลา ส่วนราชการ คณะนักวิจัย และประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เข้าร่วม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2563 ภายใต้ชื่อแผนงานวิจัย แผนบูรณาการการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนต้นแบบ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลา โดยภายในงานมีกิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ ทิศทางการจัดการวัสดุเหลือทิ้งแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนสู่ชุมชนต้นแบบจังหวัดสงขลา การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในชุมชนโดยหัวหน้าโครงการวิจัย จำนวน 17 โครงการและกิจกรรมกลุ่มย่อย

ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน ศึกษาการวางแผนและบริหารเส้นทางระบบการจัดเก็บวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ สร้างนวัตกรรมทางสังคม และประเมินค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน ถือเป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาวัสดุเหลือใช้ในชุมชน ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน