โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัย ร่วมกับ อบต.แก้วแสน ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร สู้ภัยโควิด-19 และสร้างรายได้สู่ชมชน

          คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมกับ อบต.แก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช มอบต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำนวน 4,999 ต้น ในพื้นที่ตำบลแก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อปลูกเป็นสมุนไพรต้านไวรัสโควิด-19 และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

          ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  กล่าวว่า ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ประชาชนได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการ สร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์พันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

          ผศ.ธรรมศักดิ์ พุทธกาล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร) สู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจร ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประชาชน จะเป็นโอกาสให้กับประชาชนตำบล แก้วแสน ในการต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเอง และเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาให้เกิดความสมดุล และเพิ่มการใช้พืชสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกในการบำบัด ควบคุม และรักษาโรคเพิ่มขึ้น ซึ่ง มทร.ศรีวิชัย มีนโยบายขับเคลื่อนการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ฟ้าทลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ ฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ มีโอกาสที่จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ จะดำเนินการต่อยอดในการบูรณาการโครงการ ต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการ ร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือร่วมทั้งภูมิปัญญาอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการวิเคราะห์ และออกแบบ ตอบสนองความต้องการของชุมชน