โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัย ระดมสมองอบรมกลไกการบ่มเพาะกลุ่มผู้มีศักยภาพตามประสบการณ์ (Grooming)

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ผศ.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี บรรยายให้ความรู้ กลไกการบ่มเพาะกลุ่มผู้มีศักยภาพตามประสบการณ์(Grooming) ในหัวข้อเรื่อง “ความเป็นมาของโครงการTalent Mobility ”อีกทั้งยังมี ผศ.ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี .... บรรยายในหัวข้อ “กระบวนการ Grooming ของ มทร.ศรีวิชัย” พร้อมด้วย รศ. ดร. ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดี มทร.สุวรรณภูมิ .....บรรยายเรื่อง Paradigm Shifted (ภาคบ่าย) มทร.ศรีวิชัย ระดมสมองอบรมกลไกการบ่มเพาะกลุ่มผู้มีศักยภาพตามประสบการณ์ (Grooming) ให้กับคณาจารย์ บุคลากร โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อนินท์ มีมนต์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ..... บรรยายเรื่อง: "การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long-learning)" และ อาจารย์พิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย .... บรรยายเรื่อง:"รูปแบบการจัดการเรียนการสอนร่วมกับอุตสาหกรรม และ ผศ.ดร.อนินท์ มีมนต์ และ ดร.วลัญช์รัก พุ่มชลิต ... บรรยายเรื่อง "เขียนโครงการ Talent Mobility อย่างไรให้ได้ดี โดยการจัดประชุมโครงการดังกล่าวเพื่อระดมความคิดเห็น โดยอาศัยจุดเด่น ความเข้มแข็งและโอกาสในเชิงพื้นที่และกำลังคน มาร่วมพัฒนาแนวทางในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของประเทศ ด้วยศักยภาพและทรัพยากรของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจึงมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันสร้างและบริหารจัดการแพลทฟอร์มเพื่อส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงศักยภาพบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของอุตสาหกรรมและชุมชน พร้อมทั้งสร้างเส้นทางอาชีพของนักวิจัยและบัณฑิตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต ด้วยกระบวนการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ผ่านกิจกรรมการเตรียมความพร้อม, การพัฒนากลไกสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากร ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลไปปฏิบัติในสถานประกอบการ, หลักสูตรความเป็นเลิศ (Premium Course) รวมถึงการปรับและพัฒนากลไก (Adjust and Development) ให้เข้ากับบริบท ที่เหมาะสมของการทำงานแต่ละแห่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการต่อยอดการผลิตบัณฑิต จากการผลิตบัณฑิต Hands on ไปสู่การสร้างบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักประดิษฐ์ (Inventor) ที่สามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่สถานประกอบการและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการสร้าง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneur) ซึ่งการผลิตบัณฑิตบนฐานคิดใหม่นี้ ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเป้าประสงค์เดิมของการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย มทร.ศรีวิชัย เข้าร่วมรับฟังการบรรยายดังกล่าวจำนวนมาก ณ หัองประชุมชูพันธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา