Feed aggregator
ผู้บริหารร่วมบันทึกเทปรายการพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา พราหมณ์ชูเอม รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง พร้อมด้วยผู้บริหาร พนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังร่วมบันทึกเทปรายการพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อทิดพระเกียรติและแสดงออกถึงความจงรักภักดี ณ ห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง
ประกาศ เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หน่วยสวัสดิการนักศึกาา(วิชาทหาร) งานบริหารกิจการนักศึกษา เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
รายละเอียดดังแนบ
แนบไฟล์เอกสาร:
ประกาศ เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หน่วยสวัสดิการนักศึกาา(วิชาทหาร) งานบริหารกิจการนักศึกษา เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
รายละเอียดดังแนบ
แนบไฟล์เอกสาร:
ประกาศ เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หน่วยสวัสดิการนักศึกาา(วิชาทหาร) งานบริหารกิจการนักศึกษา เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
รายละเอียดดังแนบ
แนบไฟล์เอกสาร:
ประกาศ เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หน่วยสวัสดิการนักศึกาา(วิชาทหาร) งานบริหารกิจการนักศึกษา เรื่อง การขอผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
รายละเอียดดังแนบ
แนบไฟล์เอกสาร:
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เรื่อง การให้เช่าที่ดินและอาคารปฏิบัติการโรงแรมและท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เรื่อง การให้เช่าที่ดินและอาคารปฏิบัติการโรงแรมและท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา
การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)
ความหมายของ KM (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน
หลักสำคัญของการจัดการความรู้ คือ กระบวนการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน ในการดำเนินการจัดการความรู้มีบุคคลหรือคนสำคัญในหลากหลายบทบาทหลากหลายรูปแบบ ที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุดแต่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสวยงามกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
คุณธรรม 8 ประการของการจัดการความรู้
1. ศีลธรรมพื้นฐาน ศีลธรรมพื้นฐานของสังคมคือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ศีลธรรมพื้นฐานนี้จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การจัดการความรู้มีพื้นฐานอยู่ที่การให้คุณค่าแก่ความรู้ที่อยู่ในตัวคนทุกคน จึงเป็นรูปธรรมแห่งการปฏิบัติที่เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคน
2. การไม่ใช้อำนาจ การใช้อำนาจจะไปปิดกั้นกระบวนการตามธรรมชาติ คือ การรับรู้ เรียนรู้ งอกงาม ถักทอเครือข่าย เมื่อใช้อำนาจจะทำให้กระบวนการตามธรรมชาติบิดเบี้ยวเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น
3. การฟังอย่างลึก (deep listening) การนำความรู้ที่แฝงเร้นในตัวออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ต้องมีการคุยที่เน้นการฟังอย่างลึก ไม่ใช้โต้เถียงกันโดยหวังเอาชนะ การฟังอย่างลึกและเงียบ จิตใจสงบ มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ได้ยินจะทำให้เกิดปัญญา
4. วิธีการทางบวก คือ เอาความสำเร็จ ความภาคภูมิใจของสิ่งที่เคยทำด้วยดีเป็นตัวตั้ง นำมาเห็นคุณค่าและชื่นชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดให้งดงามและมีประโยชน์ยิ่งขึ้น วิธีการทางบวกทำให้มีความปิติ มีกำลังใจ มีความสามัคคี และมีพลังสร้างสรรค์ที่จะเคลื่อนตัวต่อไปในอนาคต
5. การเจริญธรรมะ 4 ประการ ที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ปกติมนุษย์เรียนรู้ร่วมกันยากเพราะกิเลส เช่น ความโกรธ ความเกลียด อหังการ การจะเรียนรู้ร่วมกันควรเจริญธรรมะ 4 ประการ ได้แก่ ความเอื้ออาทร ความเปิดเผย ความจริงใจ และความเชื่อถือไว้วางใจกัน
6. การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (interactive learning through action) เป็นอิทธิปัญญา ความรู้ในตัวคนเป็นความรู้ที่เนื่องด้วยการปฏิบัติและการจัดการความรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันทำให้ให้การปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเป็นผลสำเร็จ
7. การถักทอไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและสังคม การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้บุคคลทั้งโดยตัวบุคคลหรือภายในองค์กรเดียวกันหรือข้ามองค์กรเข้ามาเชื่อมโยงกันโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ แต่เชื่อมโยงด้วยการเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและข้ามองค์กร
8. การเจริญสติในการกระทำ การเจริญสติคือการรู้ตัว ทำให้จิตใจสงบ มีอิสรภาพ เพราะหลุดพ้นจากความบีบคั้น สัมผัสความจริงได้ ควบคุมความคิด การพูดและการกระทำได้ ทำให้เกิดความสำเร็จ เป็นความงาม ความดี และความสุข
บุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้
ในกระบวนการการจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร ควรประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. "คุณเอื้อ" คือผู้ที่ทำให้เกิดผลงาน KM มีหน้าที่คัดเลือกหาทีมงานจากหลายสังกัดมาเป็นแกนนำ สนับสนุนทรัพยากรแก่ทีมงานอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากความสำเร็จหลากหลายรูปแบบ
2. "คุณอำนวย" ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในเชิงกิจกรรม เชิงระบบ และเชิงวัฒนธรรม
3. "คุณกิจ" ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90-95 อาจสรุปได้ว่าคุณกิจคือผู้จัดการความรู้ตัวจริง เป็นผู้มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย/หัวปลา” ที่ตั้งไว้
4. "คุณลิขิต" ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมการจัดการความรู้ อาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ หรือทำหน้าที่เป็นระยะยาว กึ่งถาวรในกิจกรรมจัดการความรู้ของกลุ่ม หรือ หน่วยงาน หรือองค์กร สิ่งที่ “คุณลิขิต” จดบันทึกได้แก่ เรื่องเล่าจากกิจกรรม ขุมความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุมและบันทึกอื่นๆ
5. "คุณวิศาสตร์" คือ นัก IT ที่เข้ามาช่วยเป็นทีมงาน KM คำว่า "วิศาสตร์" มาจากคำว่า "IT wizard" หรือพ่อมดไอที จะเข้ามาช่วยคิดเรื่องการวางระบบ IT ที่เหมาะกับการดำเนินการ KM
6. "คุณประสาน" ในการทำ KM แบบเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร "คุณประสาน" จะทำหน้าที่ประสานงานให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกันภายในเครือข่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ฝังลึก เกิดการหมุนเกลียวความรู้ได้อย่างมีพลังมาก เรียกว่า "การหมุนเกลียวความรู้ผ่านเขตแดน"
โมเดลปลาทู
โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)
"หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
"ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
"หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
โมเดลปลาตะเพียน
"โมเดลปลาตะเพียน" เป็นบทขยายของ "โมเดลปลาทู" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวปลาใหญ่" เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น เปรียบเสมือนการที่ "ปลาเล็ก" ทุกตัว "ว่ายน้ำ" ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ "ว่ายน้ำ" ของตนเอง ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ "บริหารหัวปลา" และคอยดูแล "บ่อน้ำ" ให้ "ปลาเล็ก" ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ "ว่ายสู่เป้าหมายร่วม" ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า "หัวปลาเล็ก" ของตนหันไปทางเดียวหกับ "หัวปลาใหญ่" ขององค์กรหรือไม่
การจัดการความรู้
KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้มีการหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
ตามประเด็นความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจ 3 ด้าน คือ
1. ด้านการผลิตบัณฑิต
2. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3. ด้านการวิจัย
บรรณานุกรม
กรรณิการ์ สุธรรมศิรินุกูล. 2255. บทบาทการดำเนินงาน และทักษะ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=31:2011-02-24-03-37-24&catid=13:2010-12-22-04-02-34&Itemid=14. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2556.
ประเวศ วะสี. 2548. การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิจารณ์ พานิช. 2549. KM วันละคำ จากนักปฏิบัติ KM สู่นักปฏิบัติ KM. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2556.
...............................................
แนบไฟล์เอกสาร: AttachmentSize

การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)
ความหมายของ KM (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน
หลักสำคัญของการจัดการความรู้ คือ กระบวนการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน ในการดำเนินการจัดการความรู้มีบุคคลหรือคนสำคัญในหลากหลายบทบาทหลากหลายรูปแบบ ที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุดแต่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสวยงามกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
คุณธรรม 8 ประการของการจัดการความรู้
1. ศีลธรรมพื้นฐาน ศีลธรรมพื้นฐานของสังคมคือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ศีลธรรมพื้นฐานนี้จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การจัดการความรู้มีพื้นฐานอยู่ที่การให้คุณค่าแก่ความรู้ที่อยู่ในตัวคนทุกคน จึงเป็นรูปธรรมแห่งการปฏิบัติที่เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคน
2. การไม่ใช้อำนาจ การใช้อำนาจจะไปปิดกั้นกระบวนการตามธรรมชาติ คือ การรับรู้ เรียนรู้ งอกงาม ถักทอเครือข่าย เมื่อใช้อำนาจจะทำให้กระบวนการตามธรรมชาติบิดเบี้ยวเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น
3. การฟังอย่างลึก (deep listening) การนำความรู้ที่แฝงเร้นในตัวออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ต้องมีการคุยที่เน้นการฟังอย่างลึก ไม่ใช้โต้เถียงกันโดยหวังเอาชนะ การฟังอย่างลึกและเงียบ จิตใจสงบ มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ได้ยินจะทำให้เกิดปัญญา
4. วิธีการทางบวก คือ เอาความสำเร็จ ความภาคภูมิใจของสิ่งที่เคยทำด้วยดีเป็นตัวตั้ง นำมาเห็นคุณค่าและชื่นชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดให้งดงามและมีประโยชน์ยิ่งขึ้น วิธีการทางบวกทำให้มีความปิติ มีกำลังใจ มีความสามัคคี และมีพลังสร้างสรรค์ที่จะเคลื่อนตัวต่อไปในอนาคต
5. การเจริญธรรมะ 4 ประการ ที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ปกติมนุษย์เรียนรู้ร่วมกันยากเพราะกิเลส เช่น ความโกรธ ความเกลียด อหังการ การจะเรียนรู้ร่วมกันควรเจริญธรรมะ 4 ประการ ได้แก่ ความเอื้ออาทร ความเปิดเผย ความจริงใจ และความเชื่อถือไว้วางใจกัน
6. การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (interactive learning through action) เป็นอิทธิปัญญา ความรู้ในตัวคนเป็นความรู้ที่เนื่องด้วยการปฏิบัติและการจัดการความรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันทำให้ให้การปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเป็นผลสำเร็จ
7. การถักทอไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและสังคม การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้บุคคลทั้งโดยตัวบุคคลหรือภายในองค์กรเดียวกันหรือข้ามองค์กรเข้ามาเชื่อมโยงกันโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ แต่เชื่อมโยงด้วยการเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและข้ามองค์กร
8. การเจริญสติในการกระทำ การเจริญสติคือการรู้ตัว ทำให้จิตใจสงบ มีอิสรภาพ เพราะหลุดพ้นจากความบีบคั้น สัมผัสความจริงได้ ควบคุมความคิด การพูดและการกระทำได้ ทำให้เกิดความสำเร็จ เป็นความงาม ความดี และความสุข
บุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้
ในกระบวนการการจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร ควรประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. "คุณเอื้อ" คือผู้ที่ทำให้เกิดผลงาน KM มีหน้าที่คัดเลือกหาทีมงานจากหลายสังกัดมาเป็นแกนนำ สนับสนุนทรัพยากรแก่ทีมงานอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากความสำเร็จหลากหลายรูปแบบ
2. "คุณอำนวย" ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในเชิงกิจกรรม เชิงระบบ และเชิงวัฒนธรรม
3. "คุณกิจ" ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90-95 อาจสรุปได้ว่าคุณกิจคือผู้จัดการความรู้ตัวจริง เป็นผู้มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย/หัวปลา” ที่ตั้งไว้
4. "คุณลิขิต" ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมการจัดการความรู้ อาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ หรือทำหน้าที่เป็นระยะยาว กึ่งถาวรในกิจกรรมจัดการความรู้ของกลุ่ม หรือ หน่วยงาน หรือองค์กร สิ่งที่ “คุณลิขิต” จดบันทึกได้แก่ เรื่องเล่าจากกิจกรรม ขุมความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุมและบันทึกอื่นๆ
5. "คุณวิศาสตร์" คือ นัก IT ที่เข้ามาช่วยเป็นทีมงาน KM คำว่า "วิศาสตร์" มาจากคำว่า "IT wizard" หรือพ่อมดไอที จะเข้ามาช่วยคิดเรื่องการวางระบบ IT ที่เหมาะกับการดำเนินการ KM
6. "คุณประสาน" ในการทำ KM แบบเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร "คุณประสาน" จะทำหน้าที่ประสานงานให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกันภายในเครือข่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ฝังลึก เกิดการหมุนเกลียวความรู้ได้อย่างมีพลังมาก เรียกว่า "การหมุนเกลียวความรู้ผ่านเขตแดน"
โมเดลปลาทู
โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)
"หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
"ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
"หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
โมเดลปลาตะเพียน
"โมเดลปลาตะเพียน" เป็นบทขยายของ "โมเดลปลาทู" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวปลาใหญ่" เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น เปรียบเสมือนการที่ "ปลาเล็ก" ทุกตัว "ว่ายน้ำ" ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ "ว่ายน้ำ" ของตนเอง ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ "บริหารหัวปลา" และคอยดูแล "บ่อน้ำ" ให้ "ปลาเล็ก" ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ "ว่ายสู่เป้าหมายร่วม" ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า "หัวปลาเล็ก" ของตนหันไปทางเดียวหกับ "หัวปลาใหญ่" ขององค์กรหรือไม่
การจัดการความรู้
KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้มีการหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
ตามประเด็นความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจ 3 ด้าน คือ
1. ด้านการผลิตบัณฑิต
2. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3. ด้านการวิจัย
บรรณานุกรม
กรรณิการ์ สุธรรมศิรินุกูล. 2255. บทบาทการดำเนินงาน และทักษะ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=31:2011-02-24-03-37-24&catid=13:2010-12-22-04-02-34&Itemid=14. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2556.
ประเวศ วะสี. 2548. การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิจารณ์ พานิช. 2549. KM วันละคำ จากนักปฏิบัติ KM สู่นักปฏิบัติ KM. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2556.
...............................................
แนบไฟล์เอกสาร: AttachmentSize

การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้มีการหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจ 3 ด้าน คือ 1. ด้านการผลิตบัณฑิต - ฝึกสอน 2. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3. ด้านการวิจัย
...............................................
เรื่องทั่วไปการจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้มีการหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจ 3 ด้าน คือ 1. ด้านการผลิตบัณฑิต - ฝึกสอน 2. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3. ด้านการวิจัย
...............................................
เรื่องทั่วไปประกาศผลการพิจารณาจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำงานพัฒนานักศึกษา
ประกาศผลการพิจารณาจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำงานพัฒนานักศึกษา
แนบไฟล์เอกสาร:
ประกาศผลการพิจารณาจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำงานพัฒนานักศึกษา
ประกาศผลการพิจารณาจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำงานพัฒนานักศึกษา
แนบไฟล์เอกสาร:
18 ก.ค 60 ติดตามผล ชุมชนบางกล่ำ
18 ก.ค 2560
ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ และทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการของคณะบริหารธุรกิจในพื้นที่ชุมชนบางกล่ำท่าเมรุ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
17 ก.ค 60 ติดตามผล คณะวิศวกรรมศาสตร์
17 ก.ค 2560
ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ และทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคม ร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในพื้นที่ชุมชนบ่อดาน อ.สทิงพระ จ.สงขลา
17ก.ค 60 ติดตามผลจ.สงขลา
17 ก.ค 60
ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ คณะกรรมการติดตามผลบริการวิชาการ และทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคมติดตามผลโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมในชุมชนเป้าหมาย ประจำปีการศึกษา 2560 ภายใต้โครงการกิจกรรมเติมความรู้และสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ณ ศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด นา เล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน แบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบจังหวัดสงขลา มีกิจกรรมย่อย 6 กิจกรรม
ดังนี้
กิจกรรมที่1 การหาองค์ประกอบและสารสกัดจากเส้นใยของผลโตนดสุข
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญวลัย รัศนันกิจจ์
คณะศิลปศาสตร์
กิจกรรมที่2 การปรับปรุงแม่พิมพ์สำหรับผลิตภัณฑ์ สบู่ โหนด นา เล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรัญ ธรรมใจ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ 3 เครื่องแยกเนื้อตาล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรพงค์ บุญช่วยแทน
คณะวิศวกรรมศาสตร์
กิจกรรมที่ 4 ชุดควบคุม ความชื้นสบู่จากตาลโตนด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาริษา โสภาจารย์
วิทยาลัยรัตภูมิ
กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย รายผลิตภัณฑ์สบู่ โหนด นา เล
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.ธันยาภรณ์ ดำจุติ
คณะบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่ 6 การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ โหนด นา เล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.งามเพชร อัมพรวัมนพงศ์ นายเสริมศักดิ์ สัญญาโณ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
และมี นางพูนทรัพย์ ศรีชู เป็นผู้นำกลุ่มศุูนย์การเรียนรู้วิถีโหนดนาเล
ประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เรื่อง ประกาศรายชื่อผุ้มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหาเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ประกาศคณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหาเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
12 ก.ค 60 ติดตามผล บ้านหนองไม้แก่น
12 ก.ค 60 เวลา 15:00 น.
ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ คณะกรรมการติดตามผลบริการวิชาการ ทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคมติดตามผลการบริการวิชาการ วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ในพื้นที่ ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
12 ก.ค 60 ติดตามผล ชุมชนตะโหมด
12 ก.ค 60 ช่วงเช้า
ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ คณะกรรมการติดตามผลบริการวิชาการ และทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคมติดตามผลโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมในชุมชนเป้าหมาย ประจำปีการศึกษา 2560ภายใต้โครงการกิจกรรมเติมความรู้และสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ณ ชุมชนตะโหมด จ.พัทลุง โดยมี นายบุญเติมภู รองเลื่อน นายอำเภอตะโหมด เข้าร่วมฟังการดำเนินโครงการ
11 ก.ค 60 ติดตามผล ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง
11 ก.ค 60 ช่วงเช้า
ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ณิชา ประสงค์จันทร์ คณะกรรมการติดตามผลบริการวิชาการ และทีมงานหน่วยบริการทางวิชาการแก่สังคมติดตามผลโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมในชุมชนเป้าหมาย ประจำปีการศึกษา 2560ภายใต้โครงการกิจกรรมเติมความรู้และสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ณ ชุมชนบ่อหิน ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน แบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบจังหวัดตรัง มีกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม
ดังนี้
กิจกรรมที่1 : การจัดการของเสียในสถานที่ผลิต
ผู้รับผิดชอบโครงการ : นายสมภพ ยี่สุ่น
สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่2 : การยกระดับสถานที่
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.สุแพรวพันธ์ โลหะลักษณาเดช
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
กิจกรรมที่ 3 : การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ชุมชนบ้านปากคลอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศิววงศ์ เพชรจุล
วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว
และมี นางสิรินาฏ จงรักษ์ เป็นผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านปากคลอง