โลโก้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มีทักษะการสื่อสาร เชี่ยวชาญปฏิบัติ  สร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ

สมัครเรียน

สมัครงาน

-A A +A

มทร.ศรีวิชัย ตรัง เปิดบ้านต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มทร.ศรีวิชัย เปิดบ้านต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำเสนองานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เปิดตัว

JUNGHUU.com (จังฮู้ดอทคอม) โมเดลตลาดออนไลน์ Local E-commerce สู่สังคม
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากร นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมต้อนรับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรัง เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน "บทบาทมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ : นวัตกรรมการสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นและภูมิวัฒนธรรม" ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ณ ห้องประชุมดุหยง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ประกอบด้วย 5 พื้นที่และมีเอกลักษณ์โดดเด่น คือ พื้นที่นครศรีธรรมราช (ขนอม) การจัดการท่องเที่ยววเชิงอนุรักษ์นครศรีธรรมราช (ทุ่งใหญ่ , ไสใหญ่) , พื้นที่สงขลา (การพัฒนาเมืองด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม , พื้นที่รัตภูมิ การจัดการฟาร์มอัจฉริยะ และพื้นที่ตรัง การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง จึงเป็นที่มาของพันธกิจที่ว่า “มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างมั่นคง” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดำเนินกระบวนการจัดการงานวิจัยโดยได้รับการถ่ายทอดจาก การทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ที่เรานำมาใช้ในการขับเคลื่อนงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยปี พ.ศ. 2550 – 2559 การพัฒนาไม้ผลและสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการวิจัยปูม้า หอยนางรม ปูแสม สาหร่ายทะเล ปลาสวยงาม และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรังสู่ความยั่งยืน พ.ศ.2560 ดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง โครงการลุ่มน้ำปะเหลียน ปี 2 โครงการวิจัยและพัฒนา OTOP ปีพ.ศ.2562 ดำเนินโครงการวิจัย SMAEs อาหารทะเลโครงการวิจัยแผนพัฒนาชายฝั่งอันดามันตอนล่าง และ ปัจจุบันปีพ.ศ.2563 ดำเนินโครงการวิจัย SMAEs อาหารทะเลโครงการวิจัยแผนพัฒนาชายฝั่งอันดามันตอนล่าง ที่ตอบโจทย์ Smart City ชุมชนนวัตกรรม Local Enterprise Demand Supply Matching
กล่าวคือ ต้นน้ำ คือ กระบวนการหาโจทย์วิจัย ที่มาจากผู้ใช้ประโยชน์ตัวจริง มาจากความต้องการของพื้นที่ กลางน้ำ คือ กระบวนการบริหารจัดการงานวิจัย ที่เราใส่แรงลงไปเต็มที่เต็มกระบวนการ ไม่ใช่แค่นักวิจัย เราต้องทำให้เกิดนักจัดการงานวิจัย ปลายน้ำ คือ ผู้ใช้ประโยชน์เอางานวิจัยไปใช้ ท้ายที่สุด เราเชื่อว่างานวิจัยที่ดีต้องใช้ได้จริงและขายได้ ชุมชนสามารถอยู่ได้ สิ่งที่ท้าทายคือมหาวิทยาลัยต้องการทำ Local E-commerce จึงเป็นเป็นที่มาของ JUNGHUU.com (จังฮู้ดอทคอม) เป็นโมเดลตลาดออนไลน์ Local E-commerce อย่างแท้จริง เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าให้กับชุมชนบนสโลแกนที่ว่า”เติบโตไปด้วยกัน” และเราขอเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างมั่นคง
.